การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง !!! เพื่อป้องกันมะเร็งเต้านม
ตรวจมะเร็งเต้านม ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจ?
- มีครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งอื่นๆ
- อายุ 40 ปีขึ้นไป
- มีประวัติตรวจแล้วพบยีนผิดปกติ โดยเฉพาะยีน BRCA1 และ BRCA2
- คลำพบก้อนเนื้อ มีของเหลวไหล
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
- ยืนหน้ากระจก ท่ามือข้างลำตัวและยกแขน 2 ข้าง เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของขนาด รูปร่างสีผิว ตำแหน่งของหัวนมและเต้านม
- นอนราบในท่าสบาย ใช้มือคลำเต้านมทั่วทั้งเต้านม ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
- ขณะยืนอาบน้ำ ใช้มือคลำให้ทั่วทั้งเต้านม รักแร้ ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และคอ อีกทั้งบีบหัวนมว่ามีของเหลวหรือไม่หากพบความผิดปกติ รู้สึกคลำแล้วต่างจากเดิม ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจยืนยันอีกครั้ง
อายุไม่มาก ไม่ต้องตรวจเต้านม?
แม้สถิติจะระบุว่า มะเร็งเต้านมพบมากในกลุ่มหญิงวัย 60 ปีขึ้นไป แต่ใช่ว่าอายุน้อยจะไม่ต้องตรวจ เพราะการที่ตรวจพบมะเร็งเต้านมในช่วง 40 60 ปี คือ มีอาการแล้วจึงไปตรวจ ทำให้พบมะเร็งเต้านมในระยะที่ร้ายแรง แต่ถ้าตรวจเป็นประจำสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจด้วยตัวเอง ตรวจโดยแพทย์ หรือการตรวจแมมโมแกรม ร่วมกับอัลตราซาวนด์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการพบมะเร็งเต้านมในระยะที่เป็นอันตราย เพราะตรวจพบเร็ว การรักษามะเร็งเต้านมก็ยิ่งมีผลลัพธ์การรักษาที่ดี