แนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน วิเคราะห์สมดุลน้ำ(น้ำขาด-น้ำเกิน) สำรวจพื้นที่ เก็บข้อมูล จัดทำแผนที่ ผังน้ำ ชุมชนสามารถวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการและแก้ไขปัญหาน้ำในพื้นที่ได้ตรงสาเหตุ สอดคล้องกับสภาพปัญหาและภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่ สามารถขยายผลความสำเร็จเป็นเครือข่ายการจัดการทรัพย ากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ที่มีความมั่นคงด้านน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค-บริโภค ความมั่นคงด้านอาหารและความมั่นคงด้านเศรษฐกิจชุมชน
แนวคิดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน แบ่งเป็นขั้นตอนให้เข้าใจง่ายๆ 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.หาน้ำได้จัดเก็บข้อมูลแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำ ปริมาณฝนในชุมชน จัดการข้อมูลเป็นระบบ ระบุปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข ไปสู่การหาแหล่งน้ำสำรองในชุมชน
2.เก็บน้ำไว้เก็บสำรองน้ำหลากและน้ำท่วม ไว้ในแหล่งกักเก็บน้ำ เช่น สระน้ำแก้มลิง สระน้ำประจำไร่นาหรือบ่อน้ำ เพื่อไว้ใช้อุปโภค-บริโภค และการเกษตร
3.ใช้น้ำเป็นวางแผนการใช้น้ำทั้งอุปโภค-บริโภค และเกษตร ที่สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่มี จัดการข้อมูล วิเคราะห์สมดุลน้ำ ดำเนินงานทฤษฎีใหม่
4.จัดการอย่างมีประสิทธิภาพบริหารจัดการน้ำและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ เพื่อให้มีน้ำใช้อย่างพอเพียง สำหรับอุปโภค-บริโภค และการเกษตร อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
javascript:nicTemp();